ตอบ ความหมายของ “ฐานข้อมูล” มีหลายความหมาย ตัวอย่างเช่น
ฐานข้อมูลอาจถือได้ว่าเป็นตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง เช่น เป็นที่รวมหรือเป็นที่บรรจุแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง เป็นต้น (A database can be regarded as a kind of electronic filing cabinet.)
ฐานข้อมูลเป็นชุดของข้อมูลที่คงทน (Persistent Data) ซึ่งถูกเรียกใช้โดยระบบโปรแกรมของกิจการใดกิจการหนึ่ง (A database is a collection of persistent data that is used by the application systems of some given enterprise.) ข้อมูลจะคงทนอยู่ในฐานข้อมูลเพราะเมื่อระบบจัดการฐานข้อมูลรับข้อมูลนั้นเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว ใครจะขจัดหรือเอาข้อมูลออกไปจากฐานข้อมูลได้ต้องมีการร้องขอต่อระบบจัดการฐานข้อมูลเท่านั้น
*ตัวอย่างข้อมูลที่คงทนในฐานข้อมูล
ความสำคัญ
การจัดข้อมูลให้เป็นระบบฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลมีส่วนดีกว่าการเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูล เพราะการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จะมีส่วนที่สำคัญกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลดังนี้
1. ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ข้อมูลบางชุดที่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอาจมีปรากฏอยู่หลาย ๆ แห่ง เพราะมีผู้ใช้ข้อมูลชุดนี้หลายคน เมื่อใช้ระบบฐานข้อมูลแล้วจะช่วยให้ความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดน้อยลง เช่น ข้อมูลอยู่ในแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ผู้ใช้แต่ละคนจะมีแฟ้มข้อมูลเป็นของตนเอง ระบบฐานข้อมูลจะลดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเหล่านี้ให้มากที่สุด โดยจัดเก็บในฐานข้อมูลไว้ที่เดียวกัน ผู้ใช้ทุกคนที่ต้องการใช้ข้อมูลชุดนี้จะใช้โดยผ่านระบบฐานข้อมูล ทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนลงได้
2. รักษาความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากฐานข้อมูลมีเพียงฐานข้อมูลเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลชุดเดียวกันปรากฏอยู่หลายแห่งในฐานข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะต้องตรงกัน ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลนี้ทุก ๆ แห่งที่ข้อมูลปรากฏอยู่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามกันหมดโดยอัตโนมัติด้วยระบบจัดการฐานข้อมูล
3. การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้อย่างสะดวก การป้องกันและรักษาความปลอดภัยกับข้อมูลระบบฐานข้อมูลจะให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์เข้าไปใช้ฐานข้อมูลได้เรียกว่ามีสิทธิส่วนบุคคล (privacy) ซึ่งก่อให้เกิดความปลอดภัย (security) ของข้อมูลด้วย ฉะนั้นผู้ใดจะมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลได้จะต้องมีการกำหนดสิทธิ์กันไว้ก่อนและเมื่อเข้าไปใช้ข้อมูลนั้น ๆ ผู้ใช้จะเห็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลในรูปแบบที่ผู้ใช้ออกแบบไว้
ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้สร้างตารางข้อมูลขึ้นมาและเก็บลงในระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูลในรูปแบบของระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งอาจเก็บข้อมูลเหล่านี้ลงในแผ่นจานบันทึกแม่เหล็กเป็นระเบียน บล็อกหรืออื่น ๆ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้ว่าโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลนั้นเป็นอย่างไร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล
ดังนั้นถ้าผู้ใช้เปลี่ยนแปลงลักษณะการเก็บข้อมูล เช่น เปลี่ยนแปลงรูปแบบของตารางเสียใหม่ ผู้ใช้ก็ไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลของเขาจะถูกเก็บลงในแผ่นจานบันทึกแม่เหล็กในลักษณะใด ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะจัดการให้ทั้งหมด ในทำนองเดียวกันถ้าผู้ออกแบบระบบฐานข้อมูลเปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลลงบนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ผู้ใช้ก็ไม่ต้องแก้ไขฐานข้อมูลที่เขาออกแบบไว้แล้ว ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะจัดการให้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ความไม่เกี่ยวข้องกันของข้อมูล (data independent)
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากในระบบฐานข้อมูลจะเป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างไว้ ผู้ใช้แต่ละคนจึงสามารถที่จะใช้ข้อมูลในระบบได้ทุกข้อมูล ซึ่งถ้าข้อมูลไม่ได้ถูกจัดให้เป็นระบบฐานข้อมูลแล้ว ผู้ใช้ก็จะใช้ได้เพียงข้อมูลของตนเองเท่านั้น ข้อมูลของระบบเงินเดือน ข้อมูลของระบบงานบุคคลถูกจัดไว้ในระบบแฟ้มข้อมูลผู้ใช้ที่ใช้ข้อมูลระบบเงินเดือน จะใช้ข้อมูลได้ระบบเดียว แต่ถ้าข้อมูลทั้ง 2 ถูกเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลซึ่งถูกเก็บไว้ในที่ที่เดียวกัน ผู้ใช้ทั้ง 2 ระบบก็จะสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้ ไม่เพียงแต่ข้อมูลเท่านั้นสำหรับโปรแกรมต่าง ๆ ถ้าเก็บไว้ในฐานข้อมูลก็จะสามารถใช้ร่วมกันได้
5. มีความเป็นอิสระของข้อมูล เมื่อผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา จะสามารถสร้างข้อมูลนั้นขึ้นมาใช้ใหม่ได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบฐานข้อมูล เพราะข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาประยุกต์ใช้ใหม่นั้นจะไม่กระทบต่อโครงสร้างที่แท้จริงของการจัดเก็บข้อมูล นั่นคือ การใช้ระบบฐานข้อมูลจะทำให้เกิดความเป็นอิสระระหว่างการจัดเก็บข้อมูลและการประยุกต์ใช้
6. สามารถขยายงานได้ง่าย เมื่อต้องการจัดเพิ่มเติมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะสามารถเพิ่มได้อย่างง่ายไม่ซับซ้อน เนื่องจากมีความเป็นอิสระของข้อมูล จึงไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลเดิมที่มีอยู่
7 ทำให้ข้อมูลบูรณะกลับสู่สภาพปกติได้เร็วและมีมาตรฐาน เนื่องจากการจัดพิมพ์ข้อมูลใน ระบบที่ไม่ได้ใช้ฐานข้อมูล ผู้ เขียนโปรแกรมแต่ละคนมีแฟ้มข้อมูลของตนเองเฉพาะ ฉะนั้น แต่ละคนจึงต่างก็สร้างระบบการบูรณะข้อมูลให้กลับสู่ สภาพปกติในกรณีที่ข้อมูลเสียหายด้วยตนเองและด้วยวิธีการของตนเอง จึงขาดประสิทธิภาพและมาตรฐาน แต่เมื่อมาเป็นระบบฐาน ข้อมูลแล้ว การบูรณะข้อมูลให้กลับคืนสู่สภาพปกติจะมีโปรแกรมชุดเดียวและมีผู้ดูแลเพียงคนเดียวที่ดูแลทั้งระบบ ซึ่งย่อมต้อง มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตัวอย่าง
- ระบบจัดการฐานข้อมูลนักเรียน และผลการศึกษา - ระบบจัดการเผยแพร่งานวิจัย - ระบบจัดการการฝากถอนเงิน - ระบบธุรการภาควิชา - เว็บไซต์โรงเรียน / อบต. - ระบบสั่งอาหาร - ระบบจัดการสงเคราะห์ภาครัฐ - ระบบสั่งงานออนไลน์พร้อมส่ง SMS - ระบบเปิดร้านค้าพระเครื่องออนไลน์พร้อมระบบประมูล - ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบผลการสอบโปรเจคต์ - ระบบจองรถตู้ รถทัวร์ - ระบบรับสมัครทุนการศึกษา - ระบบตรวจสอบการส่งงานของนักศึกษา - ระบบจัดการบุคคลกร (HRMS) - ระบบตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ และอิงกลุ่ม - ระบบงานร้านวัสดุก่อสร้าง - ระบบงานร้านอาหาร - ระบบร้านขายยา - ระบบขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce ASP.NET By VB.NET & C#.NET) - ระบบจัดตารางเรียนพิเศษ - ระบบติดตามความก้าวหน้าโปรเจคต์ - ระบบเว็บไซต์มูลนิธิ - ระบบยืม-คืนหนังสือวีซีดี - ระบบหน้าร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า - ระบบลงทะเบียนเรียนออนไลน์ - ระบบจัดการตรวจรักษาผู้ป่วย - ระบบเว็บไซต์ร้านเช่าวีดีโอ - ระบบแบบสอบถามผ่านอินเตอร์เน็ต - ระบบข้อสอบออนไลน์ (E-Testing System) - ระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ - ระบบสั่งซื้อ-ขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต (E-Commerce PHP) - ระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต (E-Learning) - ระบบจัดการเอกสาร ผ่านอินเตอร์เน็ต (E-Document System) - ระบบจองเครื่องมือวิทยาศาสตร์ - ระบบจัดการการฝึกอบรม / สัมมนา - ระบบสารสนเทศเพื่องานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ - ระบบจัดการคาร์แคร์ - ระบบจัดการสนามยิงปืน - ระบบจัดการการเช่ารถ - ระบบจัดเก็บค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำ - ระบบจัดการคลีนิก - ระบบอนุมัติการร้องขอจากผู้ใช้ (UA System) - ระบบจัดเก็บออกเอกสารราชการทุกประเภท (ASP.NET) - ระบบจัดการการอบรมสัมมนา (ASP.NET) - ระบบจองสถานที่อาคาร - ระบบวิเคราะห์ข้อมูลโรคจากอาการ - ระบบจองตั๋วหนังออนไลน์ - ระบบจองคิวร้านเสริมสวย - ระบบบริการงานผลิตสื่อวีดีทัศน์และภาพนิ่ง - ระบบบริหารจัดการลูกค้า ADSL - ระบบสารสนเทศนวดแผนไทยออนไลน์ - ระบบประเมินการเรียนการสอน - เว็บไซต์ให้บริการเติมเงินเกมส์ออนไลน์ - ระบบจัดการโรงเรียนสอนภาษา - ระบบจัดการโรงสีข้าว - ระบบจองห้องเรียนอัจฉริยะ (E-Booking Room System) - ระบบจัดการครุภัณฑ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (E-Durable System) - ระบบเว็บศิษย์เก่า (Alumni) - ระบบการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ (E-Form System) - เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบล กรมป่าไม้ การประปา - ระบบบริหารจัดการบริษัทผ่านอินเตอร์เน็ต - ระบบบริหารจัดการโปรเจคต์ - ระบบเว็บบอร์ด - ระบบสำหรับธุรกิจ MLM - ระบบการลาออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต (E-Leave System) - ระบบจัดการบุคลลากร asp.net - ระบบบริหารจัดการ apartment asp.net - ระบบจองบังกะโล asp.net - ระบบลงประกาศ ซื้อ-ขาย-ให้เช่า บ้าน,ที่ดิน - เว็บไซต์สำหรับบริษัททัวร์ - เว็บไซต์สำหรับโรงแรม,รีสอร์ท,รถเช่า - เว็บไซต์สำหรับลงไฟล์วีดีโอ (YouTube) - ระบบบริหารจัดการสื่อวีดีโอ - ระบบบริหารจัดการร้านหนังสือ - เว็บไซต์กรอกใบสมัครงาน - เว็บไซต์สำหรับเปิด Blog - ระบบอนุมัติการถ่ายเอกสาร - ระบบบริการห้องแนะแนว - ระบบการเบิกจ่ายเงินค่าสอนนอกเวลา - ระบบจัดการสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต |
1.2 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล พร้อมยกตัวอย่าง โดยละเอียด
- ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
เมื่อมีข้อมูลหลายที่ แต่ละหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลเอง อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกัน หลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของพนักงาน และ ฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลจะทำให้ไม่เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน - ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล
จากตัวอย่างในกรณีข้างบนนี้ ถ้ามีการแก้ชื่อนามสกุลที่ ฝ่ายบุคคล ชื่อและนามสกุลที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจาก ฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อ-นามสกุล จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย - ข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้
การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบ ที่แน่นอนได้ และ สามารถใช้รวมกันกับหน่วยงานอื่นเพราะ เป็นมาตรฐานเดียวกัน - มีความปลอดภัย
การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไข และ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้ - สามารถขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูลต้องมีการตกลงรูปแบบ การเก็บ อย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ทำให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
ตัวอย่าง
1. ฐานข้อมูลของร้านค้า เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและลูกค้าอย่างเป็นระบบดีแล้ว การ จัดการก็ง่าย สินค้ามีกี่รายการ ต้นทุน กำไรเท่าไร ก็ดูได้ทันที ในโลกธุรกิจ การมีข้อมูลจำนวนมากและมี การจัดการที่ดี มีผลต่อความได้เปรียบในการทำธุรกิจและการประสบความสำเร็จ
2. ฐานข้อมูลบัญชีครัวเรือน จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่ายในการใช้เงินในแต่ละวันของครัวเรือน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย
3. ฐานข้อมูลสมาชิกสหกรณ์ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ได้รับจากการออมเงินของสมาชิกในแต่ละวัน และจะมีการบันทึกอย่างต่อเนื่อง หากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสหกรณ์ก็จะมีการลงบันทึกไว้และมีการเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย
4. ฐานข้อมูลระบบห้องสมุด ยืม-คืน จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนหนังสือ ให้ง่ายต่อการค้นหา จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลหนังสือ ข้อมูลการยืม ข้อมูลการคืน
รหัสและประเภทหนังสือ ฯลฯ ทำให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น
3. ฐานข้อมูลสมาชิกสหกรณ์ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ได้รับจากการออมเงินของสมาชิกในแต่ละวัน และจะมีการบันทึกอย่างต่อเนื่อง หากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสหกรณ์ก็จะมีการลงบันทึกไว้และมีการเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย
4. ฐานข้อมูลระบบห้องสมุด ยืม-คืน จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนหนังสือ ให้ง่ายต่อการค้นหา จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลหนังสือ ข้อมูลการยืม ข้อมูลการคืน
รหัสและประเภทหนังสือ ฯลฯ ทำให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น