วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หลักการออกแบบฐานข้อมูล และ ขั้นตอนการใช้ฐานขู้อมูล

 1.1  อธิบายหลักการออกแบบฐานข้อมูลโดยละเอียด 

หลักการออกแบบฐานข้อมูล
เอนทิตี(Entity) หมายถึง สิ่งที่ต้องการในฐานข้อมูลที่เป็นที่รวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน มีข้อมูลที่บ่งชี้เอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ เช่น เอนทิตีของระบบงานจำหน่ายสินค้าซึ่งประกอบด้วย เอนทิตีที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ เอนทิตีสินค้า เอนทิตีลูกค้า เอนทิตีใบสั่งซื้อ

แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง ข้อมูลที่แสดงถึงคุณสมบัติของเอนทิตี เช่น เอนทิตีสินค้า ประกอบด้วยแอททริบิวต์ รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคาสินค้า และสินค้าคงเหลือ เอนทิตีลูกค้าประกอบด้วยแอททริบิวต์ รหัสลูกค้า ชื่อลูกค้า และที่อยู่ เอนทิตีใบสั่งซื้อประกอบด้วยแอททริบิวต์ รหัสใบสั่งซื้อ รหัสสินค้า รหัสลูกค้า และจำนวน

ความสัมพันธ์(Relationship) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีในระบบฐานข้อมูล เช่น เอนทิตีใบสั่งซื้อมีความสัมพันธ์กับเอนทิตีสินค้า และ เอนทิตีลูกค้า ดังรูป

จากรูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีลูกค้าและเอนทิตีใบสั่งซื้อเป็นความสำพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม(One to Many Relationship) หมายความว่าลูกค้าหนึ่งคนสามารถสั่งซื้อสินค้าได้หลายใบ แอนทิตีสินค้ามีความสัมพันธ์กับเอนทิตีใบสั่งซื้อเป็นความสำพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม(May to Many Relationship) หมายความว่าใบสั่งซื้อหนึ่งใบสามารถมีสินค้าได้หลายชนิด สำหรับสินค้าสามารถอยู่ในใบสั่งซื้อได้หลายใบ และแอททริบิวต์รหัสสินค้ามีความสัมพันธ์กับแอททริบิวต์ชื่อสินค้าเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง(One to One Relationship) หมายความว่ารหัสสินค้าหนึ่งเป็นชื่อสินค้าได้ชนิดเดียว
เขตข้อมูล(Field) หมายถึง หน่วยข้อมูลที่ประกอบมาจากอักขระตั้งแต่หนึ่งอักขระขึ้นไปมารวมกัน เช่น หมายเลขประจำตัวประชาชน(PopID) ชื่อ(First Name) นามสกุล(Last Name)
ระเบียน(Record) หมายถึง หน่วยข้อมูลที่ประกอบด้วย เขตข้อมูล(Field) ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูล(Field) ขึ้นไปมารวมกันและมีความสัมพันธ์กัน เช่น ระเบียน(Record)ของตาราง(Table) ครู(Teacher) 1 ระเบียนจะเป็นข้อมูลของคนหนึ่งคนประกอบด้วยเขตข้อมูล(Field) ได้แก่ หมายเลขประจำตัวประชาชน(PopID) ชื่อ(First Name) นามสกุล(Last Name) เป็นต้น
ตาราง(Table) หมายถึง หน่วยข้อมูลที่ประกอบด้วยระเบียน(Record) ตั้งแต่1ระเบียน(Record) ขึ้นไปมารวมกันและมีความสัมพันธ์กัน


  ก่อนการออกแบบฐานข้อมูล ควรจัดแบ่งข้อมูลเป็นระบบอย่างเหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อน โดยการดำเนินการดังนี้
   1. กำหนดว่าจะต้องมีข้อมูลอะไรบ้างที่เกี่ยวกับ ตาราง(Table)นั้น เช่น ตาราง(Table) ลูกค้า(Costumers) จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ส่วน ตาราง(Table)ใบสั่งซื้อ(Orders) จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับรหัสสินค้า จำนวน ส่วนลดเป็นต้น
   2. ลดความซ้ำซ้อนของฐานข้อมูลโดยกำหนด เขตข้อมูล(Field) ต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม
   3. กำหนความสัมพันธ์ระหว่าง ตาราง(Table)โดยกำหนด คีย์หลัก(Primary Key :PK)และ คีย์นอก(Foreign Key :FK) ขึ้นในตาราง(Table)ทีเกี่ยวข้อง

คีย์หลัก(Primary Key :PK) หมายถึง Field ที่มีข้อมูลไม่ซ้ำกัน เช่น เขตข้อมูล(Field) รหัสลูกค้า ซึ่งจะต้องไม่มีลูกค้าคนใดใช้รหัสซ้ำกัน โดยในหนึ่ง ตาราง(Table) ควรมีคีย์หลัก(Primary Key :PK) เพียง 1 คีย์ และใน คีย์หลัก(Primary Key :PK) จะต้องไม่เป็นค่าว่าง Null
คีย์คู่แข่ง(Candidate Key)หมายถึงเขตข้อมูล(Field)หนึ่งหรือหลายเขตข้อมูลมีคุณสมบัติเป็น คีย์หลัก PK(ไม่ซ้ำ)และไม่ได้ใช้เป็นคีย์หลัก เช่น รหัสสินค้าเป็น คีย์หลัก ส่วนชื่อสินค้าก็ไม่ซ้ำเช่นกันแต่ไม่ได้เป็นคีย์หลักจึงเป็นคีย์คู่แข่ง
คีย์นอก(Foreign Key :FK) หมายถึง เขตข้อมูล(Field) หรือส่วนประกอบของตาราง(Table)หนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กับ เขตข้อมูล(Field) ใน ตาราง(Table)อื่น ที่เป็น คีย์หลัก(Primary Key :PK) โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้


 4. กำหนดประเภทหรือชนิดข้อมูลของข้อมูลให้เหมาะสมกับแต่ละ เขตข้อมูล(Field)เช่น
เขตข้อมูล(Field) ชื่อลูกค้า ควรเป็นชนิดข้อมูล อักษร(Text)
เขตข้อมูล(Field)วันสั่งสินค้า ควรเป็นชนิดข้อมูล วันเวลา(Date/Time) หรือ
เขตข้อมูล(Field) เงินเดือน ควรเป็นชนิดข้อมูล ตัวเลขทางการเงิน(Currency)


_________________________________________________________________________________

 1.2  หาตัวอย่าง ฐานข้อมูล  หน้าตา ฐานข้อมูล รูปแบบ ที่ใช้งานจริง 


ตัวอย่างฐานข้อมูล
  1. ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (อังกฤษ: Oracle Corporation)  เป็น บริษัทคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูล, เครื่องมือสำหรับพัฒนาฐานข้อมูล, ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร, ระบบลูกค้าสัมพันธ์, ระบบบริหารห่วงโซ่อุปทาน ออราเคิลก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2520 และมีสำนักงานอยู่ในมากกว่า 145 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทมีพนักงานมากกว่า 50,000 คนทั่วโลก 
  2. ไมโครซอฟท์ แอคเซส (อังกฤษ: Microsoft Access)  เป็นโปรแกรมประเภทโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ที่ทำกันในสำนักงาน หรือองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งสามารถเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ออกแบบฟอร์มเก็บข้อมูล ออกแบบแบบสอบถาม (Query) ออกแบบและพิมพ์รายงาน จัดทำเว็บไซต์ในการรับ/ส่ง ข้อมูล (มีถึง ไมโครซอฟท์ แอคเซส รุ่น 2003) และยังสามารถเขียนกลุ่มโปรแกรม (แมโคร และ มอดูล) ของ วิชวลเบสิกเพื่อใช้ในการทำงานได้ และสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Microsoft SQL Server ได้ด้วย
  3. MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System) โดยใช้ภาษา SQL แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจ
  4. DB2 เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม ระบบจัดการฐานข้อมูล (RDBMS) ของ ไอบีเอ็ม ปัจจุบันถูกเรียกว่า ไอบีเอ็ม DB2 Data Server ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม ไอบีเอ็ม Information Management Software ไอบีเอ็ม DB2 Data Server แบ่งเป็นหลายแบบตามความเหมาะสมในการใช้งาน DB2 สามารถทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่เครื่อง PC จนกระทั่งถึงเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจาก DB2 แล้ว ไอบีเอ็ม ยังมี ระบบจัดการฐานข้อมูลอีกตัวอื่น เช่น Informix ซึ่งถูก ไอบีเอ็ม ซื้อมาเมื่อปี 2001.
  5. โพสต์เกรสคิวเอล (PostgreSQL) หรือนิยมเรียกว่า โพสต์เกรส (Postgres) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตบีเอสดี ชื่อเดิมของซอฟต์แวร์คือ โพสต์เกรส ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนเป็นโพสต์เกรสคิวเอล โดยประกาศออกมาจากทีมหลักในปี 2550[2] ชื่อของโพสต์เกรสมาจากชื่อ post-Ingres ซึ่งหมายถึงตัวซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อจากซอฟต์แวร์ชื่ออินเกรส

หน้าตาฐานข้อมูล


1.3  ทำขั้นตอนการใช้ฐานขู้อมูล จากฐานข้อมูลที่ยกตัวอย่าง 

(ในข้อ 1.2) โดยละเอียด

รูปที่ 1.จะแสดงแผนผังโต๊ะ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดตำแหน่งของโต๊ะได้เอง โดยใช้เมาท์ลากปุ่มไปมา บนหน้าจอเพื่อจัดผังร้านตามจริง สถานะการใช้งานของโต๊ะจะแทนด้วยสี 
ดังนี้ สีเทา=โต๊ะว่าง ไม่มีรายการค้างชำระ / สีเหลือง = สั่งอาหารแล้ว / สีแดง = เช็คบิลแล้วยังไม่ได้ชำระ / สีส้ม = โต๊ะจอง

 รูปที่ 2. จะแสดงหน้าจอรับ Order ด้านบนจะแสดงหมวดหมู่อาหาร เมื่อ click เลือกหมวดอาหารเสร็จแล้ว จะแสดงรายการอาหารในหมวดนั้นๆ ขวามือของจอ 
  • ปุ่มอาหารสามารถใส่รูปภาพ,ข้อความ และ ใส่สีได้ มุมล่างขวาของปุ่มจะแสดงราคาอาหารให้ทราบ
สามารถใช้ปุ่มค้นหา เพื่อหาชื่ออาหาร ในชั่วโมงที่เร่งด่วน

  • ขวามือของจอจะแสดงรายชื่ออาหารที่ลูกค้าสั่ง โดยจะมีสีต่างๆ บอกถึงสถานะของอาหาร

รูปที่ 3. แสดงหน้าจอรายการพิเศษ ซึ่งผู้ใช้สามารถเพิ่มรายการพิเศษได้ไม่จำกัด เช่น ลูกค้าสั่ง ต้มยำ เผ็ดน้อย

รูปที่ 4. จะแสดงตัวอย่าง ตั๋วที่ส่งเข้าครัว


รูปที่ 5. แสดงหน้าจอครัว สำหรับออกของ คือหลังจากที่แม่ครัวปรุงอาหารเสร็จ จะมีพนักงานออกของคอยตรวจสอบและเช็คว่า อาหารที่ลูกค้าสั่งได้ถูกเสิร์ฟออกไปแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับอาหารแน่นอนและเป็นไปตามลำดับการสั่งอาหาร


รูปที่ 6. สามารถยกเลิก/ลดจำนวน/พิมพ์ซ้ำ รายการอาหารที่สั่งพิมพ์ครัวไปแล้ว โดยใส่เหตุผลในการยกเลิกอาหาร และโปรแกรมจะพิมพ์ตั๋วไปแจ้งให้ในครัวทราบด้วย




รูปที่ 7. แสดงหน้าจอรับชำระ รองรับการรับเงิน แบบ เงินสด ,เช็ค ,บัตรเครดิต ,ฟรี ,Voucher, เงินมัดจำ , เงินเชื่อ หรือ แบบผสม


  1. รูปที่ 8. แสดงตัวอย่างบิลและใบเสร็จอย่างย่อ



  1.  รูปที่ 9. ตัวอย่างใบกำกับภาษีแบบเต็ม


  1. รูปที่ 10. มีฟังก์ชั่นในการเรียกรายการเก่ากลับมาแก้ไข (ถอยสถานะบิล)-กรณีที่ลูกค้าสั่งเช็คบิล และชำระเงินไปแล้ว แต่ลูกค้าลืมไปว่ามีบัตรส่วนลด และกลับมาขอใช้ส่วนลดดังกล่าว โปรแกรมจะรองรับการถอยสถานะบิลกลับมาแก้ไข เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและกลับมาใช้บริการใหม่อีกครั้ง



  1. รูปที่ 11. แสดงหน้าจอเพิ่มข้อมูลรายละเอียดอาหาร (Backend)

  1. รูปที่ 12. ตัวอย่างกราฟวิเคราะห์สินค้าขายดี 20 อันดับ



  1.4  บอกแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย (อ้างอิง)  




วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

5 พย.56

     1.1  อธิบายความหมายและความสำคัญของระบบฐานข้อมูล พร้อมยกตัวอย่าง โดยละเอียด
ตอบ  ความหมายของ “ฐานข้อมูล” มีหลายความหมาย ตัวอย่างเช่น
        ฐานข้อมูลอาจถือได้ว่าเป็นตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง เช่น เป็นที่รวมหรือเป็นที่บรรจุแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง เป็นต้น (A database can be regarded as a kind of electronic filing cabinet.)
        ฐานข้อมูลเป็นชุดของข้อมูลที่คงทน (Persistent Data) ซึ่งถูกเรียกใช้โดยระบบโปรแกรมของกิจการใดกิจการหนึ่ง (A database is a collection of persistent data that is used by the application systems of some given enterprise.) ข้อมูลจะคงทนอยู่ในฐานข้อมูลเพราะเมื่อระบบจัดการฐานข้อมูลรับข้อมูลนั้นเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว ใครจะขจัดหรือเอาข้อมูลออกไปจากฐานข้อมูลได้ต้องมีการร้องขอต่อระบบจัดการฐานข้อมูลเท่านั้น 
*ตัวอย่างข้อมูลที่คงทนในฐานข้อมูล
       ความสำคัญ
การจัดข้อมูลให้เป็นระบบฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลมีส่วนดีกว่าการเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูล เพราะการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จะมีส่วนที่สำคัญกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลดังนี้
1.       ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ข้อมูลบางชุดที่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอาจมีปรากฏอยู่หลาย ๆ แห่ง เพราะมีผู้ใช้ข้อมูลชุดนี้หลายคน เมื่อใช้ระบบฐานข้อมูลแล้วจะช่วยให้ความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดน้อยลง เช่น ข้อมูลอยู่ในแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ผู้ใช้แต่ละคนจะมีแฟ้มข้อมูลเป็นของตนเอง ระบบฐานข้อมูลจะลดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเหล่านี้ให้มากที่สุด โดยจัดเก็บในฐานข้อมูลไว้ที่เดียวกัน ผู้ใช้ทุกคนที่ต้องการใช้ข้อมูลชุดนี้จะใช้โดยผ่านระบบฐานข้อมูล ทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนลงได้
2.       รักษาความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากฐานข้อมูลมีเพียงฐานข้อมูลเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลชุดเดียวกันปรากฏอยู่หลายแห่งในฐานข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะต้องตรงกัน ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลนี้ทุก ๆ แห่งที่ข้อมูลปรากฏอยู่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามกันหมดโดยอัตโนมัติด้วยระบบจัดการฐานข้อมูล
3.       การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้อย่างสะดวก การป้องกันและรักษาความปลอดภัยกับข้อมูลระบบฐานข้อมูลจะให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์เข้าไปใช้ฐานข้อมูลได้เรียกว่ามีสิทธิส่วนบุคคล (privacy) ซึ่งก่อให้เกิดความปลอดภัย (security) ของข้อมูลด้วย ฉะนั้นผู้ใดจะมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลได้จะต้องมีการกำหนดสิทธิ์กันไว้ก่อนและเมื่อเข้าไปใช้ข้อมูลนั้น ๆ ผู้ใช้จะเห็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลในรูปแบบที่ผู้ใช้ออกแบบไว้
ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้สร้างตารางข้อมูลขึ้นมาและเก็บลงในระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูลในรูปแบบของระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งอาจเก็บข้อมูลเหล่านี้ลงในแผ่นจานบันทึกแม่เหล็กเป็นระเบียน บล็อกหรืออื่น ๆ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้ว่าโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลนั้นเป็นอย่างไร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล
ดังนั้นถ้าผู้ใช้เปลี่ยนแปลงลักษณะการเก็บข้อมูล เช่น เปลี่ยนแปลงรูปแบบของตารางเสียใหม่ ผู้ใช้ก็ไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลของเขาจะถูกเก็บลงในแผ่นจานบันทึกแม่เหล็กในลักษณะใด ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะจัดการให้ทั้งหมด ในทำนองเดียวกันถ้าผู้ออกแบบระบบฐานข้อมูลเปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลลงบนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ผู้ใช้ก็ไม่ต้องแก้ไขฐานข้อมูลที่เขาออกแบบไว้แล้ว ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะจัดการให้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ความไม่เกี่ยวข้องกันของข้อมูล (data independent)
4.       สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากในระบบฐานข้อมูลจะเป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างไว้ ผู้ใช้แต่ละคนจึงสามารถที่จะใช้ข้อมูลในระบบได้ทุกข้อมูล ซึ่งถ้าข้อมูลไม่ได้ถูกจัดให้เป็นระบบฐานข้อมูลแล้ว ผู้ใช้ก็จะใช้ได้เพียงข้อมูลของตนเองเท่านั้น  ข้อมูลของระบบเงินเดือน ข้อมูลของระบบงานบุคคลถูกจัดไว้ในระบบแฟ้มข้อมูลผู้ใช้ที่ใช้ข้อมูลระบบเงินเดือน จะใช้ข้อมูลได้ระบบเดียว แต่ถ้าข้อมูลทั้ง 2 ถูกเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลซึ่งถูกเก็บไว้ในที่ที่เดียวกัน ผู้ใช้ทั้ง 2 ระบบก็จะสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้ ไม่เพียงแต่ข้อมูลเท่านั้นสำหรับโปรแกรมต่าง ๆ ถ้าเก็บไว้ในฐานข้อมูลก็จะสามารถใช้ร่วมกันได้
5.       มีความเป็นอิสระของข้อมูล เมื่อผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา จะสามารถสร้างข้อมูลนั้นขึ้นมาใช้ใหม่ได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบฐานข้อมูล เพราะข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาประยุกต์ใช้ใหม่นั้นจะไม่กระทบต่อโครงสร้างที่แท้จริงของการจัดเก็บข้อมูล นั่นคือ การใช้ระบบฐานข้อมูลจะทำให้เกิดความเป็นอิสระระหว่างการจัดเก็บข้อมูลและการประยุกต์ใช้
6.       สามารถขยายงานได้ง่าย เมื่อต้องการจัดเพิ่มเติมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะสามารถเพิ่มได้อย่างง่ายไม่ซับซ้อน เนื่องจากมีความเป็นอิสระของข้อมูล จึงไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลเดิมที่มีอยู่
7    ทำให้ข้อมูลบูรณะกลับสู่สภาพปกติได้เร็วและมีมาตรฐาน เนื่องจากการจัดพิมพ์ข้อมูลใน   ระบบที่ไม่ได้ใช้ฐานข้อมูล    ผู้  เขียนโปรแกรมแต่ละคนมีแฟ้มข้อมูลของตนเองเฉพาะ ฉะนั้น แต่ละคนจึงต่างก็สร้างระบบการบูรณะข้อมูลให้กลับสู่ สภาพปกติในกรณีที่ข้อมูลเสียหายด้วยตนเองและด้วยวิธีการของตนเอง จึงขาดประสิทธิภาพและมาตรฐาน แต่เมื่อมาเป็นระบบฐาน  ข้อมูลแล้ว การบูรณะข้อมูลให้กลับคืนสู่สภาพปกติจะมีโปรแกรมชุดเดียวและมีผู้ดูแลเพียงคนเดียวที่ดูแลทั้งระบบ ซึ่งย่อมต้อง  มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตัวอย่าง
- ระบบจัดการฐานข้อมูลนักเรียน และผลการศึกษา
- ระบบจัดการเผยแพร่งานวิจัย
- ระบบจัดการการฝากถอนเงิน
- ระบบธุรการภาควิชา
- เว็บไซต์โรงเรียน / อบต.
- ระบบสั่งอาหาร
- ระบบจัดการสงเคราะห์ภาครัฐ
- ระบบสั่งงานออนไลน์พร้อมส่ง SMS
- ระบบเปิดร้านค้าพระเครื่องออนไลน์พร้อมระบบประมูล
- ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบผลการสอบโปรเจคต์
- ระบบจองรถตู้ รถทัวร์
- ระบบรับสมัครทุนการศึกษา
- ระบบตรวจสอบการส่งงานของนักศึกษา
- ระบบจัดการบุคคลกร (HRMS)
- ระบบตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ และอิงกลุ่ม
- ระบบงานร้านวัสดุก่อสร้าง
- ระบบงานร้านอาหาร
- ระบบร้านขายยา
- ระบบขายสินค้าออนไลน์ 
(E-Commerce ASP.NET By VB.NET & C#.NET)
- ระบบจัดตารางเรียนพิเศษ
- ระบบติดตามความก้าวหน้าโปรเจคต์
- ระบบเว็บไซต์มูลนิธิ
- ระบบยืม-คืนหนังสือวีซีดี
- ระบบหน้าร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ระบบลงทะเบียนเรียนออนไลน์
- ระบบจัดการตรวจรักษาผู้ป่วย
- ระบบเว็บไซต์ร้านเช่าวีดีโอ
- ระบบแบบสอบถามผ่านอินเตอร์เน็ต
- ระบบข้อสอบออนไลน์ (E-Testing System)
- ระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์
- ระบบสั่งซื้อ-ขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต
(E-Commerce PHP)
- ระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต (E-Learning)
- ระบบจัดการเอกสาร ผ่านอินเตอร์เน็ต
(E-Document System)
- ระบบจองเครื่องมือวิทยาศาสตร์
- ระบบจัดการการฝึกอบรม / สัมมนา
- ระบบสารสนเทศเพื่องานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์
- ระบบจัดการคาร์แคร์
- ระบบจัดการสนามยิงปืน
- ระบบจัดการการเช่ารถ
- ระบบจัดเก็บค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำ
- ระบบจัดการคลีนิก
- ระบบอนุมัติการร้องขอจากผู้ใช้ (UA System)
- ระบบจัดเก็บออกเอกสารราชการทุกประเภท (ASP.NET)
- ระบบจัดการการอบรมสัมมนา (ASP.NET)
- ระบบจองสถานที่อาคาร
- ระบบวิเคราะห์ข้อมูลโรคจากอาการ
- ระบบจองตั๋วหนังออนไลน์
- ระบบจองคิวร้านเสริมสวย
- ระบบบริการงานผลิตสื่อวีดีทัศน์และภาพนิ่ง
- ระบบบริหารจัดการลูกค้า ADSL
- ระบบสารสนเทศนวดแผนไทยออนไลน์
- ระบบประเมินการเรียนการสอน
- เว็บไซต์ให้บริการเติมเงินเกมส์ออนไลน์
- ระบบจัดการโรงเรียนสอนภาษา
- ระบบจัดการโรงสีข้าว
- ระบบจองห้องเรียนอัจฉริยะ (E-Booking Room System)
- ระบบจัดการครุภัณฑ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (E-Durable System)
- ระบบเว็บศิษย์เก่า (Alumni)
- ระบบการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ (E-Form System)
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบล กรมป่าไม้ การประปา
- ระบบบริหารจัดการบริษัทผ่านอินเตอร์เน็ต
- ระบบบริหารจัดการโปรเจคต์
- ระบบเว็บบอร์ด
- ระบบสำหรับธุรกิจ MLM
- ระบบการลาออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต (E-Leave System)
- ระบบจัดการบุคลลากร asp.net
- ระบบบริหารจัดการ apartment asp.net
- ระบบจองบังกะโล  asp.net
- ระบบลงประกาศ ซื้อ-ขาย-ให้เช่า บ้าน,ที่ดิน
- เว็บไซต์สำหรับบริษัททัวร์
- เว็บไซต์สำหรับโรงแรม,รีสอร์ท,รถเช่า
- เว็บไซต์สำหรับลงไฟล์วีดีโอ (YouTube)
- ระบบบริหารจัดการสื่อวีดีโอ
- ระบบบริหารจัดการร้านหนังสือ
- เว็บไซต์กรอกใบสมัครงาน
- เว็บไซต์สำหรับเปิด Blog
- ระบบอนุมัติการถ่ายเอกสาร
- ระบบบริการห้องแนะแนว
- ระบบการเบิกจ่ายเงินค่าสอนนอกเวลา
- ระบบจัดการสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต

         1.2  ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล พร้อมยกตัวอย่าง โดยละเอียด

  1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
    เมื่อมีข้อมูลหลายที่ แต่ละหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลเอง อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกัน หลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของพนักงาน และ ฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลจะทำให้ไม่เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน
  2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล
    จากตัวอย่างในกรณีข้างบนนี้ ถ้ามีการแก้ชื่อนามสกุลที่ ฝ่ายบุคคล ชื่อและนามสกุลที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจาก ฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อ-นามสกุล จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
  3. ข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้
    การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบ ที่แน่นอนได้ และ สามารถใช้รวมกันกับหน่วยงานอื่นเพราะ เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  4. มีความปลอดภัย 
    การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไข และ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้
  5. สามารถขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน 
    ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูลต้องมีการตกลงรูปแบบ การเก็บ อย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ทำให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
ตัวอย่าง
1. ฐานข้อมูลของร้านค้า เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและลูกค้าอย่างเป็นระบบดีแล้ว การ จัดการก็ง่าย สินค้ามีกี่รายการ ต้นทุน กำไรเท่าไร ก็ดูได้ทันที ในโลกธุรกิจ การมีข้อมูลจำนวนมากและมี การจัดการที่ดี มีผลต่อความได้เปรียบในการทำธุรกิจและการประสบความสำเร็จ

2. ฐานข้อมูลบัญชีครัวเรือน จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่ายในการใช้เงินในแต่ละวันของครัวเรือน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย

3. ฐานข้อมูลสมาชิกสหกรณ์ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ได้รับจากการออมเงินของสมาชิกในแต่ละวัน และจะมีการบันทึกอย่างต่อเนื่อง หากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสหกรณ์ก็จะมีการลงบันทึกไว้และมีการเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย

4. ฐานข้อมูลระบบห้องสมุด ยืม-คืน จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนหนังสือ ให้ง่ายต่อการค้นหา จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลหนังสือ ข้อมูลการยืม ข้อมูลการคืน
รหัสและประเภทหนังสือ ฯลฯ ทำให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น 

         1.3  บอกแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย (อ้างอิง)